เมนู

3. สีลสูตร



การหลีกออก 2 วิธี


[373] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล้าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณหัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟัง
ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่า
นั้นก็ดี แต่ละอย่าง ๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะ
ว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย 2 วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย 2 หลีกออกด้วยจิต 1 เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระ
ลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
[374] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม
ถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึง
ความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[375] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย้อม
เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรม
วิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ขอภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียร
อันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[376] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภ
แล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ
วิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่
ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[377] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่
ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.
[378] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้
มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชณงค์เป็นอัน
ภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว
มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[379] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว
มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมันแล้วอย่างนั้นด้วยดี.
[380] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพิงดูจิตที่
ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

[381] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ 7 ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ 7 ประการเป็นไฉน.
[382] คือ (1) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (2)
ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (3) ถ้าในปัจจุบัน
ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม้ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้
อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้นไป (4) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่
ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-
ปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้นไป (5) ถ้าในปัจจุบัน
ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้
อัตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้นไป
(6) ถ้าในปัจจุบันก็ไม้ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี
สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้นไป (7) ถ้าในปัจจุบันก็
ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-
ปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพกะอนาคามีผู้อุปหัจปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพระอนาคามี
ผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5

สิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ
ให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ 7 ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
จบสีลสูตรที่ 3

อรรถกถาสีลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ 3.
ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้ ท่านถือเอาโลกิยศีลและโลกุตรศีลของ
ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว. อธิบายว่า พวกภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนั้น. แม้
ในสมาธิและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้น เป็นผลวิมุตติ
เท่านั้น. วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นปัจจเวกขณญาณ. ในข้อนี้ ธรรมมีศีล
เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระอย่างนี้ วิมุตติเป็นโลกุตระ วิมุตติญาณ
ทัสสนะเป็นโลกิยะเท่านั้น.
บทว่า ทสฺสนมฺปหํ ตัดบทเป็น ทสฺสนํปิ อหํ ก็การได้เห็นนี้นั้น
มี 2 อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ 1 เห็นด้วยญาณ 1. ในการได้เห็น 2 อย่าง
นั้น การได้เห็นคือการได้แลดูพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ อันเลื่อมใส
ชื่อว่า การได้เห็นด้วยจักษุ. ส่วนการได้เห็นลักษณะอันพระอริยะเห็นแล้ว
และการแทงตลอดลักษณะอันพระอริยะแทงตลอดแล้ว ด้วยฌาน ด้วย
วิปัสสนา หรือด้วยมรรคและผล คือว่า การได้เห็นด้วยญาณ. แต่ในการ
ได้เห็น 2 อย่างนี้ การได้เห็นด้วยจักษุ ประสงค์เอาในที่นี้. เพราะว่า แม้
การได้แลดูพระอริยะด้วยจักษุอันเลื่อมใส มีอุปการะมากทีเดียว. บทว่า สวนํ
ได้แก่ การได้ฟังด้วยหู ต่อบุคคลทั้งหลายผู้กล่าวอยู่ว่า พระขีณาสพชื่อโน้น